มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประกาศติดตั้งระบบการให้บริการด้านการจัดการพลังงานที่เกิดขึ้น
จากความร่วมมือระหว่าง มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น พาวเวอร์ จ ากัด ที่โรงงาน
โอกาซากิในเมืองโอกาซากิจังหวัดไอจิ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานหลักที่ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของ
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น
บริการด้านการจัดการพลังงานดังกล่าวมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วยการริเริ่มใช้
พลังงานหมุนเวียน โดย มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น พาวเวอร์ จ ากัด จะติดตั้ง
ระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์(Photovoltaic หรือ PV) บนดาดฟ้าอาคารเพื่อรองรับการใช้งานในระดับ
อุตสาหกรรม*1 และระบบการจัดเก็บพลังงานในแบตเตอรี่*2 (Battery Energy Storage System หรือ
BESS)ซึ่งมีส่วนประกอบของแบตเตอรี่ในรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ผ่านการใช้งานแล้ว*3 โดยเมื่อการ
ด าเนินงานติดตั้งเสร็จสมบูรณ์จะเป็นหนึ่งในโครงการระบบ PV ที่ติดตั้งบนดาดฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
แห่งหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ Non-FIT*4 ของประเทศญี่ปุ่น
ภาพรวมของบริการด้านการจัดการพลังงาน:
การก่อสร้างระบบ PV บนดาดฟ้าอาคารเริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2562 และมีก าหนดเริ่มด าเนินงาน
เพื่อการพาณิชย์ในเดือนพฤษภาคม 2563 โดย มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น
พาวเวอร์ จ ากัด จะติดตั้งเพื่อก าลังการผลิตไฟฟ้าเบื้องต้นที่ 3 เมกะวัตต์ (ก าลังการผลิตไฟฟ้าต่อปี
อยู่ที่ 3 กิกะวัตต์ชั่วโมง) และวางแผนเพิ่มก าลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นโรงงานโอกาซากิจะ
ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากระบบ PV จึงช่วยส่งเสริมแนวทางอันยั่งยืนในการผลิตรถยนต์
พลังงานไฟฟ้าของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น บริการด้านการจัดการพลังงานดังกล่าวยังช่วย
ให้มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ใช้พลังงานสะอาดจากระบบ PV ที่ติดตั้งบนดาดฟ้าได้โดย
ปราศจากเงินลงทุนเบื้องต้นหรือการจัดหาอุปกรณ์โดยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าไฟฟ้าเท่านั้น
มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น พาวเวอร์ จ ากัด จะติดตั้งระบบการจัดเก็บพลังงาน
ในแบตเตอรี่ (BESS) และด าเนินการทดสอบการท างานในปีงบประมาณ 2563 โดยระบบนี้จะมี
ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานแล้วจาก รถ เอาท์แลนเดอร์ ปลั๊กอินไฮบริด ของ มิตซูบิชิ
มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น โดยมีก าลังสูงสุด 1 เมกะวัตต์ชั่วโมง
ระบบ PV และระบบการจัดเก็บพลังงานในแบตเตอรี่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ประมาณ 1,600
ตันต่อปี และหลีกเลี่ยงความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในระดับสูงของโรงงานโอกาซากิ โดย มิตซูบิชิ
คอร์ปอเรชั่น และ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น พาวเวอร์ จ ากัด ยังมีแผนใช้ระบบการจัดเก็บพลังงานใน
แบตเตอรี่ให้เป็นโรงงานพลังงานไฟฟ้าเสมือนจริง (Virtual Power Plant)
*5 ในอนาคต เพื่อส่งเสริม
การสร้างเสถียรภาพในการจ่ายไฟฟ้าในท้องถิ่น ในกรณีที่ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าเกิดการขัดข้อง
เนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า
จากระบบการจัดเก็บพลังงานในแบตเตอรี่ดังกล่าวให้แก่อาคารยิมเนเซียมที่โรงงานโอกาซากิซึ่ง
ออกแบบให้เป็นศูนย์อพยพของเมืองโอกาซากิ บริการด้านการจัดการพลังงานดังกล่าวจึงไม่เพียง
ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในโรงงานโอกาซากิของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เท่านั้น แต่ยัง
ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการรับมือกับภัยพิบัติของเมืองโอกาซากิ อีกด้วย
กรณีเกิดเหตุสภาพอากาศที่แปรปรวนรุนแรงบ่อยครั้งมากขึ้น และมีความจ าเป็นต้องด าเนิน
มาตรการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในระดับโลก การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนใน
ภาคธุรกิจด้วยการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งถือเป็นกรณีเร่งด่วนของหลายบริษัท รวมถึง
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น พาวเวอร์ จ ากัด ที่มี
ความมุ่งมั่นขยายการใช้พลังงานหมุนเวียน
ในปี 2552 มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เปิดตัวไอ มีฟ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นเพื่อการ
พาณิชย์รุ่นแรกของโลก และเปิดประตูเข้าสู่ตลาดรถพลังงานไฟฟ้า หลังจากนั้น มิตซูบิชิ มอเตอร์ส
คอร์ปอเรชั่น ได้แนะน า เดนโด ไดรฟ์ สเตชั่น (ในภาษาญี่ปุ่น “เดน” หมายถึง “ไฟฟ้า” และ “โด”
หมายถึง “การขับขี่”) ซึ่งเป็นโชว์รูมรถยนต์ยุคใหม่ที่ลูกค้าสามารถสัมผัสประสบการณ์การใช้งาน
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สามารถเป็นแหล่งพลังงาน ด้วยนวัตกรรมเหล่านี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์
ปอเรชั่น เดินหน้าสู่การสร้าง “สังคม เดนโด ไดร์ฟ” (DENDO Drive Society) ที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมและพร้อมรับมือภัยพิบัติ ด้วยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การน าบริการด้าน
การจัดการพลังงานรูปแบบดังกล่าวมาใช้ที่โรงงานโอกาซากิถือเป็นอีกหนึ่งก้าวส าคัญสู่อนาคตทั้งใน
ด้านการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน และการสร้าง “สังคม เดนโด ไดร์ฟ” ให้เกิดขึ้นจริง
มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น พาวเวอร์ จ ากัด มุ่งมั่นยกระดับค่านิยมด้าน
เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมผ่านการน าพลังงานหมุนเวียนมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อ
ส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า และมอบอรรถประโยชน์ที่มากขึ้นให้แก่ลูกค้า เช่น การจ่าย
กระแสไฟฟ้าและการใช้พลังงานที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ
โครงสร้างของโครงการ
1โมดูลแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ ผลิตโดย จินโก โซลาร์เจแปน เคเค
2 BESS: ระบบการจัดเก็บพลังงานในแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System)
3แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนที่ใช้แล้วใน มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ ปลั๊กอินไฮบริด ผลิตโดย ลิเธียม
เอเนอร์จีเจแปน คอร์ปอเรชั่น (ส านักงานใหญ่อยู่ในเมืองริตโตะจังหวัดชิงะ โดยมีโทชิยูกิ อาโอยามะ
เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น มิตซูบิชิ
คอร์ปอเรชั่น และจีเอส ยัวซ่า คอร์ปอเรชั่น
4 Non-FIT คือธุรกิจการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบ FIT (Feed-in Tariff) ซึ่งรัฐ
อุดหนุน โดยในระบบ FIT รัฐบาลญี่ปุ่นจะรับประกันการซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน
โดยสาธารณูปโภคท้องถิ่นในราคาพิเศษที่รัฐอุดหนุน ผู้บริโภคไฟฟ้าทั้งหมดในญี่ปุ่นจะยอมรับต้นทุน
การจัดซื้อของโรงผลิตไฟฟ้า เพราะต้นทุนในการจัดซื้อได้จะรับเงินสนับสนุนจากภาษีที่เพิ่มเข้ามาใน
ใบแจ้งช าระค่าไฟฟ้า
5โรงไฟฟ้าเสมือนจริง (Virtual Power Plant) คือการใช้พลังงานโดยการรวบรวมพลังงานจากแหล่ง
ต่างๆ อาทิ ศูนย์การผลิต ศูนย์การผลิตไฟฟ้าภายในโรงงาน ระบบการจัดเก็บพลังงานในแบตเตอรี่
(BESS) ระบบไฟส่องสว่าง และระบบการปรับอากาศ ส าหรับการรักษาสมดุลการจ่ายและใช้งาน
ไฟฟ้า โรงไฟฟ้าเสมือนจริงจะสามารถควบคุมการท างานได้จากระยะไกล ด้วยเทคโนโลยีระบบการจัด
การพลังงานแบบไอโอที (IoT) โดยมีการท างานเหมือนเป็นโรงงานไฟฟ้าอิสระ