Tuesday, January 14, 2025
Homeเคล็ดไม่ลับเบรคดื้อเบรคด้าน งานเล็กๆที่หนักมาก

เบรคดื้อเบรคด้าน งานเล็กๆที่หนักมาก

เมื่อช่วงเช้า ขับรถไปส่งแม่ที่บ้าน ก็รู้สึกแปลกๆ ว่าทำไมเบรคมันถึงตื้อๆ หนักๆ  ซึ่งแม้อาการจะมีมาให้เห็นสักระยะหนึ่งแล้ว แต่วันนี้มันมาก จนไม่อาจจะทนใช้งานต่อไปได้เท่านั้นเอง ความสงสัยมันบังคับให้ต้องตัดสินใจว่า อย่างไรวันนี้ต้องรู้ให้ได้ว่าทำไมเบรคมันถึงมีอาการแบบนี้

ย้อนไปเมื่อ 1 เดือนก่อน

ก่อนหน้านี้สักประมาณเดือนนิดๆ เอารถเข้าไปตรวจเช็คพร้อมกับเปลี่ยนยางหุ้มเพลาหน้า ตอนนั้นได้บอกกับทางศูนย์ไปว่าอยากจะตรวจเบรคหลังด้วย เพราะมันรู้สึกหนักๆ เวลาเบรคมันก็ต้องออกแรงมากกว่าเดิมที่เคยเป็นมา จะว่าเบรคหมดหรือไม่ก็อาจจะเป็นได้ เลยอยากให้ตรวจเช็คดูให้ด้วย ทว่าด้วยเงื้อนไขว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายซึ่งอาจจะฟังดูไม่มาก แต่ช่วงข้าวยากหมากแพงแบบนี้ ประหยัดได้ก็ต้องทำ ดังนั้นจึงแจ้งกลับไปว่า รอไว้ก่อน

เมื่อวันและเวลามาถึง

สุดท้ายเมื่ออาการออกจนรู้สึกว่าไม่ไหวแล้วนะ ต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว ขืนปล่อยไว้มันจะสร้างความเสียหายให้ไม่ใช่กับตัวเรา แต่หมายถึงเพื่อนร่วมทางอีกมากมายที่ไม่รู้เรื่องอะไรกับเราด้วย ดังนั้นเมื่อกลับจากภาระกิจส่งแม่แล้ว จึงนำรถเข้าที่จอด โดยจะต้องจอดบรพื้นราบเรียบเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน จากนั้นก็ใช้กากบาด คลายน๊อตล้อออก เอาแค่พอคลายนิดหน่อยเท่านั้น เสร็จแล้วก็ขึ้นแม่แรง รองด้วยสามขาเพื่อความปลอดภัยของตัวเองให้เสร็จ จึงมาถอดเอาล้อออกทั้ง 2 ข้าง แล้วก็มาถึงส่วนที่หินที่สุดของวันนี้แล้วครับ นั่นคือการเอาดรัมเบรคออกมา

ขั้นตอนการถอดเอาดรัมเบรคออกมานั้น ดูเหมือนยาก แต่จริงๆแล้วง่ายครับ เสียแต่ว่ามันต้องออกแรงเยอะเท่านั้นแหละครับ ขั้นแรก ให้ถอดสกรูที่ยึดดรับกับเพลาออก ซึ่งจุดนี้ ปกติแล้ว จะติดแน่นพอสมควร จึงจะต้องมีเทคนิคในการถอด ด้วยการใช้ไขควงขนาดใหญ่ และเวลาถอดให้ใช้ฆ้อนตอกที่ด้ามพร้อมกับหมุนออกมา เสร็จแล้วก็ให้ใช้ไม้หน้าสามมารองที่ตัวดรัมเบรคแล้วตีด้วยฆ้อนแรงๆ สลับตำแหน่งไปให้รอบๆ ดรัมเบรค เพื่อให้ตัวดรัมขยับถอยออกมาได้ เมื่อเคาะรอบและตัวดรัมขยับออกมาแล้ว เราก็จะสามารถดึงเอาดรัมออกมาได้อย่างง่ายดายครับ

เบรคดึ้อเบรคด้าน

เมื่อดรัมออกมาแล้ว เราก็จะมองเห็นระบบเบรคทั้งหมดได้ ทั้งนี้เตือนไว้ก่อนว่าระหว่างนี้ห้ามไปเหยียบเบรคเป็นอันขาดนะครับ ดูสภาพหน้าตาโดยรวม ระบบเบรคยังปกติดี ไม่มีอะไรชำรุดเสียหาย ดูที่กระบอกลูกปั๊มเบรค ไม่มีน้ำมันรั่วซึมออกมาก็เป็นอันเรียบร้อย ยังใช้งานได้ต่อไป แต่เมื่อดูที่หน้าสัมผัสของผ้าเบรค จะเห็นว่ามันเรียบเป็นมัน ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ไม่ดี ที่บอกว่าเป็นเรื่องดี ก็เพราะว่า ผิวที่เรียบเสมอกันนั้น หมายถึงว่า หน้าสัมผัสของผ้าเบรคกับดรัม เสมอกันดีอยู่ ไม่มีเศษหินทรายเข้ามารบกวน รวมทั้งไม่มีการสึกแบบผิดรูปทรง  ส่วนที่ว่าไม่ดีคือ หน้าสัมผัสแบบนี้ มันหมายถึงความฝืดระหว่างผ้าเบรคกับดรัมเบรคมีน้อย ลื่น ทำให้เราต้องออกแรงมากกว่าปกติเวลาเหยียบเบรค

วิธีการแก้ไข ก็เพียงแค่ใช้กระดาษทราบเบอร์หยาบๆ หน่อยมาขัดผิวหน้าของผ้าเบรคกับดรัมเบรค ให้ผิวมันๆหายไปเท่านั้นพอ ไม่ต้องขัดมากมายอะไร แล้วก็ระวังฝุ่นจากผ้าเบรคให้ดี ถึงแม้ผ้าเบรคสมัยนี้จะไม่มีใยหินแล้ว แต่ก็ไม่ควรสูดเข้าปอดหรอกครับ เชื่อเถอะ

ขัดเสร็จถ้ามีเครื่องเป่าลมก็เอามาเป่าฝุ่นออกไปซะ แต่ถ้าไม่มีก็เฉยๆไว้ ไม่ต้องขนาดเอาปากเป่าหรือเอามือปัดนะครับ ไม่ต้อง จากนั้นก็หล่อลื่นเล็กๆ บริเวณจุดหมุม โดยใช้จารบีนิดหน่อย เน้นนิดหน่อยเท่านั้นครับ ทาบางๆ ไว้ก็พอแล้ว ระวังแอย่าให้ไปโดนหน้าสัมผัสของผ้าเบรคอย่างเดียว เพราะจะทำให้เบรคลื่นไปเลย

เสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว ก็ให้ประกอบกลับเข้าที่ ซึ่งก็ทำได้ไม่ยาก แค่ย้อนขั้นตอนการถอดเท่านั้นเอง แต่อยากจะย้ำเตือนไว้สำหรับการกวดน๊อตล้อ ให้ใช้วิธีกวดแบบไขว้ตรงข้ามนะครับ แล้วก็ไม่ต้องกวดทีเดียวให้แน่ ให้ไล่วนไปทีละตัวเรื่อยๆ จนแน่น เท่านี้ก็เสร็จงานแล้วครับ

ทำเสร็จ ก่อนออกจากบ้าน ให้นึกไว้อย่างว่า เราเพิ่งจะทำเบรคมา ต้องลองเบรคดูก่อน เพราะปกติแล้ว ครั้งแรกๆของการเบรค มันจะออกอาการลื่นๆ เหมือนเบรคไม่อยู่ สักประมาณ 2-3 ครั้งมันก็จะกลับมาใช้งานได้ดีดังเดิมแล้วครับ

 

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -









- Advertisment -