Saturday, March 25, 2023
Homeเคล็ดไม่ลับเปลี่ยนปีกนกเอง ไม่ต้องง้อช่าง

เปลี่ยนปีกนกเอง ไม่ต้องง้อช่าง

 

เมื่อครั้งที่แล้ว เราได้ชักชวนท่านผู้อ่านและแพนานุแพนทั้งหลายให้มาลงมือซ่อมรถด้วยตัวเอง ซึ่งจริงๆ แล้วเจตนาของ “เคล็ดไม่ลับ” ก็เพื่อจะให้ทุกท่านได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดและกำลังจะเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายส่วนที่เราจะต้องเสียเมื่อนำรถเข้ารับบริการไม่ว่าจะจากศูนย์ตัวแทน หรือกับอู่ทั่วไป แต่เมื่อก่อนสิ้นปี ผู้เขียนเห็นว่าบางท่านมีความสามารถ มีเครื่องมือ แต่ขาดความมั่นใจ ก็เลยคิดว่าจะทำรถด้วยตัวเองให้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้กล้าที่จะกระโดดลงมาเล่นเอง ครั้งนี้ก็เลยจะเล่นของหนัก ที่ไม่ค่อยจะมีใครกล้าลงมือด้วยตัวเอง ด้วยความหวาดวิตกต่างๆนานา มาครับ เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วมาลุยด้วยกัน

อะไหล่เก่าที่เราซื้อไว้

 

ตอนที่แล้ว จะเห็นอะไหล่ชิ้นยาวใหญ่ ที่เป็นปีกนกของ นิสสัน นีโอ ของผู้เขียน ซึ่งสาเหตุที่ซื้อมาข้างเดียว เพราะทีแรกก็ยังไม่มั่นใจว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่พอลองทำแล้ว อ้อมันง่ายกว่าที่คิดไว้ ก็เลยเอามาแนะนำกันก่อน เดียวเงินออกอีกสัก 5 รอบจะไปเอาข้างขวามาเปลี่ยน

จุดประสงค์ของการเปลี่ยนปีกนกนั้น มาจากปัญหาของบู๊ชมันหลวม เวลาวิ่งแล้วจะมีเสียงดังตลอด รวมทั้งยังมีอาการวอกแวกอีกด้วย และที่สำคัญ อายุการใช้งานมันก็ผ่านมาเป็นสิบปีแล้ว จึงสมควรแก่เวลา แต่จะให้ซื้อของใหม่หรือเข้าศูนย์คงไม่ไหว

งานเปลี่ยนปีกนกนั้น จะต้องออกแรงกันพอสมควร เครื่องมือที่จะต้องมี คือ แม่แรง สามขา ประแจบล็อกเบอร์ต่างๆ (ก็มีเป็นกล่องกันอยู่แล้ว) ไขควงแบนแฉก คีม ค้อน และที่สำคัญ ลิ่มตอกลูกหมาก ซึ่งในภาษาช่างเขาเรียกว่า “ซ่อม”ครับ(ถ้าใครมีชื่ออื่นก็แจ้งมาด้วยนะครับ) แต่ของผู้เขียนไม่มี จึงใช้อุปกรณ์อื่นมาทำแทน

ปีกนกที่ผู้เขียนไปซื้อมานั้น เป็นของมือสองจากรถญี่ปุ่น ยังอยู่ในสภาพที่ดี วิธีดู ให้ดูที่ลูกยางว่ามีการฉีกขาดหรือไม่ จับโยกไปมาดูว่าหลวมหรือเปล่า ตัวลูกหมากปลายปีกนกต้องแน่น เกลียวไม่ล้ม และตัวปีกนกต้องไม่คดงอ โดยราคาที่ได้มาคือ ข้างละ 700 บาท (ถ้าเราไปซื้อแยก ลูกหมากก็ตัวละพันแล้ว ยังไม่รวมบู๊ชอีก ค่าอัดเข้าออก รวมแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 2 พันแน่นอน)

เตรียมการเปลี่ยน

การเปลี่ยนปีกนกนั้น ขั้นแรกให้คลายน๊อตล้อด้านที่เราจะเปลี่ยน พอหลวม จากนั้นขึ้นแม่แรงที่คานล่างของตัวรถบริเวณด้านหลังล้อ ซึ่งเขาออกแบบมาให้เป็นจุดรับน้ำหนักอยู่แล้ว จากนั้นจึงรองรับอีกครั้งด้วยสามขา เพื่อความปลอดภัย แล้วจึงถอดเอาล้อออกมา

ต่อจากนี้เราจะเห็นว่าอุปสรรค์ใหญ่ของเราคือ ลูกหมากที่ยึดอยู่กับคอม้า  ให้ปลดเอาปริ้นล็อตออก แล้วคลายน๊อตล๊อคลูกหมาก โดยจะต้องใช้ประแจปากตายเบอร์ 22 เท่านั้น(สำหรับนีโอ) เมื่อคลายได้แล้ว ก็ถึงตอนยาก ซึ่งจะต้องผ่านไปให้ได้ซะก่อน ถึงจะลงมือส่วนอื่นได้ เพราะหากติดที่จุดนี้เรายังสามารถกลับใจเอาไปให้อู่เขาลงมือแทนได้ (ก็พาหนีอู่แล้วนะ)

การเอาลูกหมากออกจากคอม้า จะต้องใช้ซ่อมอัดลูกหมากให้ขยับออกจากรูของมัน โดยผู้เขียนจะใช้เหล็กแท่งดัดแหวน(เหล็กแท่งที่เป็นเทเปอร์) มาตอดอัดระหว่างปีกนก กับคอม้าเพื่อดันให้ลูกหมากหลุดออกมา ซึ่งก็ต้องใช้กำลังจากค้อนพอสมควร แต่กระนั้นมันก็ไม่ได้ยากสักเท่าไร เพราะภาษาช่างเขาเรียกว่า “ติดแรง” เท่านั้นเอง เมื่อลูกหมากขยับหลุดแล้ว ก็ไปถอดส่วนที่เหลือต่อไป

ตัวแรกเลยคือ กันโคลง ซึ่งจะเป็นบู๊ชยางรองเอาไว้อีกชั้น อันนี้ง่ายๆครับ จุดที่จะต้องถอดต่อไปคือจุดยึดปลายปีกนกที่จะมีสกรู 3 ตัวยึดติดกับโครงรถ บล็อกเบอร์ 14 จัดการไม่ยาก แต่ขอให้จำแรงไว้ว่ามันแน่นขนาดไหน เวลาเราประกอบจะได้ไม่หลวมไป เมื่อหลุดแล้วก็ไล่ไปที่บู๊ชกลาง เกลี่ยวยาวหน่อย แต่ออกแรงนิดเดียวก็หลุดออกมาได้ง่ายๆ แล้วครับ เวลาที่ทำไม่จำเป็นต้องไปนอนอยู่ใต้ท้องรถ เพราะจะไม่มีมุมที่ดี ออกแรงได้ไม่เต็มที่ แถมยังอันตรายจากฝุ่นและปีกนกจะตกใส่อีกด้วย

บอกแล้วว่าไม่ยาก

เมื่อทุกอย่างมากองอยู่ตรงหน้า ก็นั่งพักสักครู่ แล้วเตรียมการประกอบของใหม่กลับเข้าไป โดยจะต้องมีการเติมจาระบีหล่อลื่นให้กับบู๊ชและแกนน๊อตด้วย เพื่อกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งกันสนิมได้ดีอีกด้วย การประกอบกลับนั้น พวกผมมักจะบอกเวลาเขียนรายงานว่าก็ทำย้อนกลับจากตอนถอด ซึ่งมันก็จริงนะครับ แต่สิ่งที่จะช่วยให้การประกอบกลับง่ายและเร็วขึ้นคือเทคนิด เวลาประกอบกลับนั้น เราจะไล่จากบู๊ชปลายปีกนกตัวในก่อน ใส่สกรูคาไว้สัก 2-3 เกลียว จากนั้นมาสอดแกนลูกหมากให้เข้าตำแหน่ง แล้วใส่น๊อตคาไว้เพื่อกันไม่ให้ปีกนกมันตกลงมา เสียเวลาครับ ทีนี้ก็เหลือแกนตรงกลางที่จะต้องใส่ให้ตรงรูกันทั้งหมดแล้วสอดด้วยสลักยาว ซึ่งตรงนี้แหละครับ จะใส่ได้ง่ายๆ ต้องใช้ผู้ช่วย โดยเราจะต้องใช้ไขควงสอดเข้าไปในรูเพื่อปรับตำแหน่งให้ตรง โดยจะต้องใช้ไขควงอีกตัวช่วยงัดปรับตำแหน่งอยู่ด้านนอก ทั้งนี้ห้ามใช้ปลายนิ้วแหย่เข้าไปนะครับ อันตรายถ้ามันหล่นลงมานิ้วขาดได้ง่ายๆ หรือน้อยๆก็หักแหละครับ

เมื่อปรับให้รูตรงได้แล้วก็ใส่สลักเกลียวให้เข้าที่ แล้วก็เริ่มกระบวนการกวนน๊อตแต่ละตัวให้แน่น และตึง โดยมีข้อแนะนำดังนี้นะครับ การใส่แรงจะมากน้อยให้เราดูที่เบอร์ของหัวน๊อต โดยช่วงล่างนั้น แรงที่ใส่ จะต้องให้มากขนาดดึงๆๆมือ แน่นเลยก็ว่าได้ แต่ห้ามต่อด้ามนะครับ แรงมันผิดเดียวเกลียวขาด

เมื่อกวดน๊อตทุกตัวแน่นดีแล้ว ก็ใส่ล้อ ลงแม่แรง แล้วเอาไปวิ่งดู จะรู้สึกได้ว่าช่วงล่างมันเงียบขึ้น แน่นขึ้น ส่วนการตั้งศูนย์ล้อนั้น ใจเย็นครับ ลองวิ่งไปสักระยะหรือรอให้เปลี่ยนครบทั้ง 2 ข้างแล้วค่อยเอาไปตั้งทีเดียวเลยก็ได้ครับ

 

 

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -




Most Popular

- Advertisment -





Recent Comments