Wednesday, March 19, 2025
Homeไปไหนมาเมื่อเราขี่ CR-V ไปเยี่ยมเมืองน่าน

เมื่อเราขี่ CR-V ไปเยี่ยมเมืองน่าน

IMG_5820

เมื่อไม่นานมานี้ ฮอนด้า ออโตโมบิลฯ ได้ชวนสื่อมวลชนร่วมเดินทางไปทำกิจกรรมไกลถึงจังหวัดน่าน หัวเมืองเล็กๆ ที่มีความสำคัญอย่างใหญาหลวงต่อเมืองต่างๆ ในเขตภาคเหนือ เพราะเมืองน่านมีแหล่งเกลือสินเธาว์ ซึ่งในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง จะต้องมีการนำเข้าเกลือจากเมืองจีน

การเดินทางครั้งนี้ ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 วัน ระยะทางมากกว่า 1 พันกม.ถึงแม้ตัวผู้เขียนจะเคยไปเมืองน่านตั้งแต่สมัยยันเรียนไม่จบก็ตาม แต่ทุกครั้งที่ได้ไปเยือนเมืองน่านบนเส้นทางเดิมๆ แต่กลับได้พบกับประสบการณ์ใหม่ๆ มิตรภาพใหม่ ตื่นตาตื่นใจทุกครั้งที่ได้ไปเมืองน่าน สักครั้งหนึ่งของการเดินทาง ขอแนะนำเมืองน่าน ความสงบเงียบของบ้านเมือง ความงดงามของวัฒนธรรม และความงามของวัดวาอารามต่างๆ จะช่วยให้คุณค้นพบตัวเองครับ

บ่อเกลือสินเธาว์ บ่อเกลือโบราณ แห่งเดียวในโลก

ตั้งอยู่ใน อ. บ่อเกลือ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 80 กิโลเมตร เกลือเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อชุมชนคนเมืองน่านและบ้านเมืองโดยรอบเป็นอย่างมากทั้งสุโขทัย ล้านช้าง และล้านนา เพราะพื้นที่เหล่านี้อยู่ห่างไกลจากทะเล ด้วยเหตุนี้เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้พระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนาเสด็จมาตีเมืองน่าน เพื่อมุ่งหวังครอบครองบ่อเกลือซึ่งถือเป็นยุทธปัจจัยสำคัญสมัยนั้น เมืองน่าน จึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา

12311432_1115648678452791_965058027_o

บ่อเกลือสำคัญในน่านมี 2 แห่ง คือบริเวณต้นน้ำว้า ซึ่งมีบ่อเกลือใหญ่ 2 บ่อ อีกแห่งคือบริเวณต้นน้ำน่าน   มีบ่อใหญ่ 5 บ่อและมีบ่อเล็กบ่อน้อยอีกจำนวนมาก ปัจจุบันชาวบ้านยังคงต้มแกลือด้วยวิธีแบบดั้งเดิม       โดยจะตักน้ำเกลือจากบ่อส่งผ่านมาตามลำไม้ไผ่สู่บ่อพัก ก่อนจะนำน้ำเกลือมาต้มในกะทะใบบัวขนาดใหญ่ เคี่ยวจนน้ำงวดแห้ง ใส่ถุงวางขายกันหน้าบ้าน แต่เนื่องด้วยเกลือภูเขาแตกต่างจากเกลือทะเล เพราะเกลือสินเธาว์ไม่มีไอโอดีน ทางสาธารณสุขจึงเข้ามาช่วยโดยนำไอโอดีนมาผสมก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำปีเถาะ

วัดพระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร เดิมเป็นวัดราษฎร์ แต่ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง องค์พระธาตุแช่แห้งสีเหลืองทองงามอร่ามนี้มีอายุราว 600 ปีเศษ องค์พระธาตุมีความสูงถึง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร มีสีเหลืองอร่ามเนื่องจากบุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลือง ผสมทองแดง) มีลักษณะเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนฐานทำเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ รองรับฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ

12290424_1115648428452816_1992029362_o

ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้า กระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น องค์ระฆังมีขนาดเล็กบัลลังก์ทำเป็นแท่นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ฐานหน้ากระดานกลมเป็นกระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม และชั้นบัวคว่ำเหนือฐานแปดเหลี่ยม ตกแต่งคล้ายกลีบบัวหรือลายใบไม้ และมีเจดีย์ขนาดเล็ก 4 องค์อยู่ที่ฐาน และยังมีที่มุมอีก 4 องค์ ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกกว่าพระธาตุเจดีย์องค์อื่น ๆ ภายในพระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุส่วนกระดูกข้อมือซ้าย บรรจุรวมกับพระเกศา

สำหรับคำว่า “แช่แห้ง” มีความหมายโดยนัยว่า ยอดคนหรือมหาบุรุษเท่านั้นที่จะทำตัวให้แห้งอยู่ในสภาวะแห่งความเปียกปอนของอวิชชา ความมืดบอด แห่งสรรพกิเลศตัณหาต่างๆ ที่มากมายยิ่งกว่าสายน้ำและมหาสมุทรทั้งหลายในโลกรวมกัน พระธาตุแช่แห้ง จึงเป็นปูชนียสถานที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียง มีลักษณะของศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเจดีย์ วิหารหลวง วิหารพระนอน และบันไดนาค ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแบบหนึ่งที่ผสมผสานคติความเชื่อทางพุทธปรัชญาไว้อย่างกลมกลืน

วัดหัวข่วง หนึ่งในโบราณสถานของชาติไทย

ตั้งอยู่บนถนนมหาพรหม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน เป็นวัดที่มีความสำคัญในเขตหัวแหวนเมืองน่าตั้งอยู่ใกล้หอคำ หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน มีวิหาร และเจดีย์ มีลักษณะศิลปกรรมแบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่านฝีมือประณีตงดงาม วัดนี้ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด มีเพียงหลักฐานว่าได้รับการบูรณะในราว พ.ศ. 2425 โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าเมืองน่าน และต่อมาราวปี พ.ศ.2472 ในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองน่าน องค์สุดท้าย ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2533 กรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่มาบูรณะเจดีย์วัดหัวข่วงและได้ประกาศเป็นโบราณสถานของชาติ

เจดีย์วัดหัวข่วง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทหรือทรงเรือนธาตุ อิทธิพลศิลปะล้านนา ฐานล่างทำเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมรับฐานบัวลูกแก้ว 2 ชั้น มีชั้นหน้ากระดานคั่นกลาง ฐานบัวลูกแก้วชั้นบนย่อเก็จรับกับเรือนธาตุไปจรดชั้นบัวถลาใต้องค์ระฆัง ส่วนเรือนธาตุมีซุ้มจระนัมด้านละซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด ที่มุมผนังทั้งสองข้างปั้นเป็นรูปเทวดาทรงเครื่องยืนพนมมือ เหนือชั้นอัสดงตอนสุดเรือนธาตุเป็นชั้นบัวถลาซ้อนกัน 3 ชั้น องค์ระฆังมีขนาดเล็กไม่มีบัลลังก์ ลักษณะของรูปทรงโดยส่วนรวมคล้ายคลึงกับเจดีย์วัดโลกโมลี อำเภอเมือ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างรัชกาลพระเมืองเกษเกล้า ราว พ.ศ. 2071 แต่ส่วนฐานล่างและชั้นบัวถลาของเจดีย์องค์นี้ยืดสูงขึ้น ทำให้มีลักษณะเรียวสูงกว่า แสดงถึงพัฒนาการทางรูปแบบที่ช่างเมืองน่านดัดแปลงนำมาใช้ในระยะหลัง ซึ่งคงมีอายุไม่เก่าไปกว่าครึ่งแรกของ

พุทธศตวรรษที่ 21

วัดภูมินทร์ มงคลแห่งล้านนาตะวันออก

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลในเวียง ภายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน ใกล้กับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2139 หลังจากที่เจ้าเจตบุตรขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปี ซึ่งแต่เดิมวัดภูมินทร์ชื่อว่า “วัดพรหมมินทร์” ตามชื่อของเจ้าเจตบุตรพรมหมินทร์ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดนี้นั่นเอง ต่อมาภายหลังชื่อวัดแห่งนี้ได้ถูกเรียกกันจนเพี้ยนไป และกลายมาเป็นชื่อ “วัดภูมินทร์” ตามที่รู้จักกันในปัจจุบัน

12318244_1115648275119498_1586297576_o

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดนี้และถือว่าเป็นหนึ่งเดียวในประเทศก็คือ “พระอุโบสถจตุรมุข” สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์เฉพาะ ที่รวมเอาโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ ไว้ในอาคารเดียวกัน ในลักษณะการจำลองแผนภูมิจักรวาลตามความเชื่อแห่งพุทธศาสนา โดยมีพระประธานจตุรทิศปางมารวิชัย 4 องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐ์ฐานอยู่ภายใน และมีนาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว ที่เปรียบเสมือนการอุ้มชูพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไปนั่นเอง

นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้วัดภูมินทร์โด่งดังและเป็นที่รู้กันไปทั่วโลกอีกสิ่งหนึ่งก็คือ ภาพจิตกรรมฝาผนังที่ปรากฏอยู่บนผนังด้านในอุโบสถจัตุรมุขทั้งสี่ด้าน โดยภาพจิตกรรมฝาผนังนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่แสดงถึงเรื่องราวและวิถีชีวิตตำนานพื้นบ้าน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพระเตมีราชชาดก และส่วนที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต เช่น การแต่งกายด้วยผ้าซิ่นลายน้ำไหล การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ และการทำการค้ากับชาวต่างชาติเป็นต้น ซึ่งภาพจิตกรรมฝาผนังที่โดดเด่นเป็นพิเศษในวัดภูมินทร์แห่งนี้ก็คือ ภาพ “เสียงกระซิบบันลือโลก” หรือภาพ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อสมัยโบราณ ในลักษณะกระซิบสนทนากัน

วัดมิ่งเมือง เสาหลักเมืองน่าน

เสามิ่งเมืองของจังหวัดน่าน สร้างขึ้นโดยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 57 โปรดให้ฝังเสาพระหลักเมืองน่านต้นปัจจุบันนี้เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2331 ณ สถานที่ที่ทรงเสี่ยงทาย คือที่ข้างวัดร้างเก่าซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหอคำ (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 350 เมตร โดยผู้รู้สันนิษฐานว่าวัดร้างนี้คือวัดห้วยไคร้ อันมีมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย

แต่เดิมเสามิ่งเมืองมีลักษณะเป็นไม้สักทองขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซ.ม. สูงประมาณ 3 เมตร หัวเสาเกลาเป็นรูปดอกบัวตูม ตัวเสาฝังลงกับพื้นโดยตรงไม่มีศาลครอบ จนกระทั่งในปี 2506 เมืองน่านได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ แม่น้ำน่านไหลเข้าท่วมถึงเสามิ่งเมือง ตัวเสาอายุร้อยกว่าปีที่เริ่มผุกร่อนจึงโค่นล้ม

12315009_1115648535119472_90594852_o

ส่วนศาลหลักเมืองน่านหลังที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้สร้างขึ้นในปี 2548 หลังจากที่ศาลหลังเก่าชำรุดทรุดโทรมลงมาก ทางราชการรวมทั้งประชาชนชาวน่านจึงได้ร่วมใจกันสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่นี้ขึ้น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงยกยอดพุทธประทุมสวมเศียรท้าวมหาพรหมยอดศาลหลักเมืองน่าน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551

สำหรับอุโบสถวัดมิ่งเมืองที่ตั้งอยู่ด้านหลังศาลหลักเมืองนั้นก็มีความเป็นมาที่เก่าแก่ไม่แพ้กัน แต่เดิมบริเวณนี้เป็นวัดร้าง ต่อมาเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านในขณะนั้นได้สถาปนาวัดร้างแห่งนี้ขึ้นใหม่ในราวปี 2400 และตั้งชื่อวัดใหม่นี้ว่า “วัดมิ่งเมือง” ด้วยเหตุที่มีเสามิ่งเมืองตั้งอยู่ในวัด

วัดพระศรีพันต้น โบสถ์สีทองอร่ามตระการตา

วัดศรีพันต้น ตั้งอยู่ที่ ถนนเจ้าฟ้า ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเขตเทศบาลเมืองน่าน สร้างโดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน ระหว่าง พ.ศ. 1960 – 1969 ) ชื่อวัดตรงกับนามผู้สร้าง คือพญาพันต้น บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น (คำว่า สลี หมายถึง ต้นโพธิ์) ซึ่งในอดีตมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ปัจจุบันถูกโค่นเพื่อตัดเป็นถนนแล้ว วัดศรีพันต้นได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2505 ภายในวัดมีวิหารที่สวยงาม ตั้งเด่นเป็นสง่า มีสีทองระยับ เป็นอีกวัดหนึ่งในจังหวัดน่านที่มีจิตรกรรมปูนปั้นที่สวยงามโดยเฉพาะ พระยานาคพญานาคเจ็ดเศียร เฝ้าบันได หน้าวิหารวัด สีทองเหลืองอร่ามสวยงามตระการตา มีความสวยงามมาก      ดูอ่อนโยนมีชีวิตชีวา ซึ่งปั้นแต่งโดยช่าง ชาวน่านชื่อ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ หรือ “สล่ารง” และภายในวิหารได้มีการเขียนภาพลายเส้นประวัติของพระพุทธเจ้า และประวัติ การกำเนิดเมืองน่าน โดยช่างชาวน่าน เป็นภาพ เขียนลายเส้นลงสีธรรมชาติสวยงามและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง

12333867_1115648551786137_681837042_o

ข้อมูล HONDA CR-V 2.0

ภายในห้องโดยสารของฮอนด้า ซีอาร์-วี ใหม่ กว้างขวาง หรูหรา และรองรับความสบาย ด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ครบครัน ในทุกรุ่นยกเว้นรุ่น 2.0 S ได้ติดตั้งระบบเครื่องเสียงหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว            แบบ Advanced Touch พร้อมรองรับระบบสั่งการด้วยเสียง SIRI (สำหรับ iphone4S ขึ้นไป) และการเชื่อมต่อ Smart Phone (ในบางรุ่น  ช่องเชื่อมต่อ HDMI และช่องเชื่อมต่อ USB จำนวน 2 จุด

นอกจากนี้ ฮอนด้า ซีอาร์-วี ใหม่ ทุกรุ่นยังติดตั้งพวงมาลัยแบบมัลติฟังก์ชั่น สวิตช์ควบคุมระบบ i-MID พร้อมปุ่มรับ-วางสายโทรศัพท์ ระบบเชื่อมต่อโทรศัพท์แบบไร้สาย (Bluetooth) และระบบนำทางเนวิเกเตอร์ รวมถึงระบบสตาร์ทเครื่องยนต์แบบอัจฉริยะ (One Push Ignition System) และระบบควมคุมประตูแบบอัจฉริยะ        (Honda Smart Key System) ให้ความคล่องตัวในทุกท่วงท่า ด้วยเบาะนั่งด้านคนขับปรับไฟฟ้า 8 ทิศทาง    พร้อมปุ่มปรับดันหลัง  เบาะนั่งผู้โดยสารด้านหน้าปรับไฟฟ้า 4 ทิศทาง (เฉพาะรุ่น 2.4 EL และ 2.4 EL 4WD) และเพิ่มพื้นที่อเนกประสงค์ด้านหลังเพื่อรองรับสัมภาระได้อย่างลงตัวด้วยเบาะแถวหลังพับจังหวะเดียวแบบ              One Motion พร้อมแยกพับ 60:40 เพื่อความลงตัวในทุกการใช้งาน

 พลังการขับเคลื่อนที่เหนือทุกข้อจำกัด

ฮอนด้า ซีอาร์-วี ใหม่ เปี่ยมด้วยสมรรถนะของเครื่องยนต์ขนาด 2.4 ลิตร DOHC 175 แรงม้า 4 สูบ 16 วาล์ว       ที่พัฒนาภายใต้เทคโนโลยีเอิร์ธดรีม พร้อมระบบเกียร์ CVT ใหม่ ให้การขับขี่ที่เร้าใจ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้น  และเครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร SOHC 155 แรงม้า 4 สูบ 16 วาล์ว เกียร์อัตโนมัติ   แบบ 5 สปีด ที่ให้ความคล่องตัวในทุกการขับขี่

 มั่นใจยิ่งขึ้นในทุกเส้นทาง

 ฮอนด้า ซีอาร์-วี ใหม่ ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่เหนือระดับ ด้วยระบบแสดงภาพมุมอับสายตา        ขณะเปลี่ยนเลน (Honda LaneWatch) (เฉพาะรุ่น 2.4 EL 4WD) กล้องส่องภาพด้านหลังปรับมุมมอง  3 ระดับ  (ยกเว้นรุ่น 2.0 S) และเพิ่มมาตรฐานระบบความปลอดภัยที่ครบครันยิ่งขึ้นในทุกรุ่น ด้วยถุงลมด้านข้างคู่หน้าอัจฉริยะ (i-Side Airbags) ม่านถุงลมด้านข้าง (Side Curtain Airbags) ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว (VSA) ระบบช่วยการออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (HSA) สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติขณะเบรกกะทันหัน (ESS)  เพิ่มความมั่นใจในทุกการขับขี่

 12311640_1115648705119455_218313727_o 12314814_1115648588452800_298075446_o 12314972_1115648318452827_146821171_o 12318344_1115648578452801_674767589_o 12317963_1115648468452812_1361382983_o 12315275_1115648715119454_85879896_o (1) 12315144_1115648248452834_744248678_o 12315058_1115648561786136_1421163595_o12318358_1115648448452814_185203687_o 12318548_1115648485119477_92201912_o 12333247_1115648281786164_36396983_o 12333795_1115648291786163_765282714_o 12333837_1115648225119503_226732331_o 12334013_1115648511786141_2098336214_o IMG_4747 IMG_4751 IMG_5311

RELATED ARTICLES
- Advertisment -










- Advertisment -