Tuesday, April 29, 2025
HomeไปไหนมาMazda CX-5 Test Drive "2 รุ่น 3 อารยธรรม กับ...

Mazda CX-5 Test Drive “2 รุ่น 3 อารยธรรม กับ CX-5”

 

หลังจากที่มาสด้าได้เปิดตัวเจนใหม่ของรถ CX-5 มาได้ไม่นาน ก็ถึงเวลาของสื่อมวลชนจะได้ทดลองขับ สัมผัสตัวเป็นๆ กัน โดยมีการจัดแบ่งเป็นกลุ่ม ซึ่งทีม “autofreestyle” ได้เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้เป็นกลุ่มที่ 3  โดยวันแรกใช้เส้นทางเริ่มต้นที่จังหวัด อุบลราชธานี ไปยัง จังหวัดสระแก้วระยะทางรวม423 กม. และวิ่งเข้ากรุงเทพฯในวันสุดท้าย

 

สัมผัสแรก

ฟ้าสางที่อุบลราชธานี อากาศเย็นสบาย อุณหภูมิไม่ถึง 20อาศา หลังจากที่จัดกลุ่มกันเรียบร้อย ก็ถึงเวลาจัดของขึ้นรถ ฝาท้ายเปิดและปิดด้วยไฟฟ้า เพียงกดปุ่มเบาๆเท่านั้น พื้นที่เก็บสัมภาระกว้างขวางและยังสามารถขยายพื้นที่ได้เพิ่ม เพียงแค่พับเบาะนั่งด้านหลังลงเท่านั้น

เปิดประตูขึ้นมานั่งในห้องโดยสาร ก็จะพบกับรายละเอียดมากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการขับขี่และการใช้งานในชีวิตประจำวัน ทว่ายังไม่เท่ากับระบบที่ช่วยเหลือเรื่องความปลอดภัยต่างๆ ที่มองไม่เห็นด้วยสายตา แต่สามารถสัมผัสได้จากการขับขี่ ที่กำลังจะได้พบในลำดับต่อไป

ตารางเปรียบเทียบคุณลักษณะจำเพาะที่สำคัญ                               *ตัวเลขเป้าหมายของการพัฒนา

New CX-5 รุ่นปัจจุบัน
ความยาวรวม มิลลิเมตร 4,550 4,540
ความกว้างรวม มิลลิเมตร 1,840 1,840
ความสูงรวม มิลลิเมตร 1,680 1,710
ระยะฐานล้อ มิลลิเมตร 2,700 2,700
ความกว้างล้อหน้า มิลลิเมตร 1,595 1,585
ความกว้างล้อหลัง มิลลิเมตร 1,595 1,590
รัศมีเลี้ยวแคบสุด เมตร 5.5 5.5
ความยาวภายใน มิลลิเมตร 1,890 1,910
ความกว้างภายใน มิลลิเมตร 1,540 1,530
ความสูงภายใน มิลลิเมตร 1,265 1,280

 

เสียงเครื่องยนต์ดีเซลดังเบาๆ เมื่อยืนอยู่นอกรถ แต่จะเงียบมากเมื่อเข้ามาอยู่ในห้องโดยสารของ CX-5 พร้อมการสำรวจความหรูหราที่สัมผัสได้ ทั้งเบาะหนังดำด้านแดง อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่เน้นโครเมี่ยม ลำโพงชั้นเลิศ (เฉพาะรุ่น Top ทั้งสายเบนซิน และดีเซล)

ช่วงแรกของการเดินทาง ทำตัวเป็นผู้โดยสาร จาก จ.อุบลราชธานี ไปยังจ.สระแก้ว โดยในระหว่างทาง ได้มีจุดพักสลับเปลี่ยนให้ได้ทดลองขับ และในช่วงที่2 หลังจากพักเติมพลังกันแล้ว ก็ถึงคิวของ autofreestyle จะได้ขับละ เส้นทางเป็นถนนหลวง ทั้งเลข ตัวเดียว ลงไปถึงเลข 4 ตัว นั่นหมายความว่าเราจะต้องพบกับสภาพถนนเกือบทุกรูปแบบ การจราจรแม้จะไม่หนาแน่น แต่มากไปด้วยรถบรรทุก

เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์คลีนดีเซล SKYACTIV-D 2.2 และเครื่องยนต์เบนซินแบบฉีดตรง SKYACTIV-G 2.0 เครื่องยนต์ทั้ง 2 ส่งผ่านกำลังไปยังเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด SKYACTIV-DRIVE ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ   i-ACTIV AWD ให้การตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว พลังพรั่งพรูออกมาเหมือนไม่มีหมด จากถนน 4 ช่องทาง ลดเหลือเพียงเลนสวน ต้องไล่ตามกลุ่ม ต้องพยายามแซงรวมถึงต้องเบรคเมื่อมีรถอื่นกำลังจะเข้าหรือออกจากถนน แน่นอนว่าความเร็วที่ใช้ต้องสูงพอสมควรเพื่อให้ทันกับขบวน แต่ทั้งเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ กับระบบช่วยเหลือ

ลักษณะจำเพาะของเครื่องยนต์ SKYACTIV-D 2.2

SKYACTIV-D 2.2
ความจุกระบอกสูบ  2,191 ซีซี
เส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบ x ระยะชัก 86.0 มิลลิเมตร × 94.3 มิลลิเมตร
อัตราส่วนกำลังอัด 14.0
กำลังสูงสุด 129 กิโลวัตต์ (175 PS) ที่ 4,500 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด 420 นิวตันเมตร (42.8 กิโลกรัมเมตร)  ที่ 2,000 รอบต่อนาที

หมายเหตุ : ตัวเลขเป้าหมายของการพัฒนาสำหรับโมเดลที่มีจำหน่ายในญี่ปุ่นที่เป็นรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้าและเกียร์อัตโนมัติ

“ระบบควบคุมสมรรถนะการขับขี่อัจฉริยะ GVC (G-Vectoring Control)” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแรกในอนุกรม SKYACTIV-VEHICLE DYNAMICS ใหม่ของมาสด้า ด้วยการปรับแรงบิดของเครื่องยนต์ให้ตอบสนองต่อการทำงานของพวงมาลัยเป็นการควบคุมแบบผสมผสานระหว่างแรงเร่งด้านข้างและตามยาวของตัวรถโดยที่ก่อนหน้านี้ควบคุมแยกกัน  และปรับโหลดในแนวดิ่งให้เหมาะสมที่ลงบนล้อแต่ละล้อ ระบบ GVC จะควบคุมแรงบิดของเครื่องยนต์ให้ลดลงในขณะที่คนขับเริ่มหมุนพวงมาลัยเพื่อเปลี่ยนภาระให้กับล้อหน้า ช่วยเพิ่มความกระชับของล้อหน้าและเพิ่มความสามารถในการตอบสนองของรถ หลังจากนั้น เมื่อผู้ขับขี่รักษามุมพวงมาลัยคงที่ ระบบ GVC จะคืนแรงบิดของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติเพื่อถ่ายโอนภาระไปยังล้อหลังและช่วยเพิ่มเสถียรภาพของรถ  การถ่ายโอนภาระนี้จะช่วยให้เห็นถึงพฤติกรรมของรถที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพซึ่งสอดคล้องกับการบังคับรถของผู้ขับขี่ในขณะที่ยังเพิ่มความรู้สึกว่ายางยึดแน่นอยู่บนถนนและให้ความรู้สึกปลอดภัยและความมั่นใจ ระบบ GVC มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถเอสยูวี ซึ่งอาจจะมีแนวโน้มที่จะเกิดแรงกระทำด้านข้างรถอันเนื่องมาจากศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงที่ค่อนข้างสูง ช่วยให้ทั้งการตอบสนองและความมั่นคงของรถดีขึ้น ในขณะที่ยังช่วยลดการลื่นไถลออกด้านข้างของตัวผู้โดยสารในห้องโดยสารและช่วยให้นั่งสบาย

ด้วยสภาพเส้นทางและวิธีขับ ทำให้เรารู้ในทันทีว่าถ้าไม่มีระบบช่วยเหลือขั้นเทพเหล่านี้ มันจะมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากขึ้นอย่างแน่นอน แล้วก็มาถึงจุดเปลี่ยนสุดท้าย ก็ถึงเวลาที่จะได้ลองนั่งในตำแหน่งของผู้โดยสารด้านหลัง ด้วยจุดเด่นของเบาะหลังที่สามารถปรับเอนได้ จึงช่วยลดอาการเมื่อยล้าเมื่อต้องนั่งเป็นระยะทางไกลๆได้ นอกจากนั้นความเงี่ยบของห้องโดยสารยังช่วยให้ผ่อนคลายไปกับเสียงเพลงโดยไม่ถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อม

จากการเดินทางที่เริ่มต้นที่จ.อุบลราชธานี เมืองชายแดนเขตติดต่อกับเพื่อนบ้าน สปป.ลาว

เราใช้เวลาไปกับความสนุกสนานในการขับ Mazda CX-5 มาจนถึงจ.สระแก้ว เมืองชายแดนเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา จากเพลงไทย เพลงลาวจนถึงเพลงเขมร สิ่งที่เราสัมผัสได้คือวัฒนธรรมของเรา แทบจะไม่แตกต่างกัน สื่อถึงกันได้ตลอดเวลา เช่นเดียวกับรถ Mazda CX-5 ที่เราได้ขับ แม้จะคุยกันไม่รู้เรื่อง แต่ก็สามารถสื่อสารถึงกันได้เพียงคุณได้สัมผัสกับพลังการออกแบบ พลังจากเครื่องยนต์ และพลังจากเทคโนโลยี ของ KODO DSIGN

วันสุดท้ายของการทดลองขับ

เช้าวันรุ่งขึ้น เราได้เปลี่ยนรถ เป็นรุ่ยเบนซิน ซึ่งรายละเอียดของตัวรถนั้น หลักๆ จะใกล้เคียงกัน จะต่างกันคือเครื่องยนต์ และระบบส่งกำลังแบบขับเคลื่อน 2 ล้อ ระบบกันสะเทือน ฯ

วันนี้เหลือระยะทางอีกไม่ไกล ก็เข้ากทม.แล้ว การขับขี่จึงได้ลองกันเพียงช่วงสั้นๆ แต่ก็เพียงพอจะทำให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างรุ่นดีเซล และรุ่นเบนซินได้เป็นอย่างดี โดยเครื่องยนต์เบนซิน

ลักษณะจำเพาะของเครื่องยนต์ SKYACTIV-G 2.0L

SKYACTIV-G 2.0
ความจุกระบอกสูบ 1,998 ซีซี
เส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบ x ระยะชัก 83.5 มิลลิเมตร × 91.2 มิลลิเมตร
อัตราส่วนการอัด 14.0:1
กำลังสูงสุด 121 กิโลวัตต์ (165 พีเอส) ที่ 6,000 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด 210 นิวตันเมตร (21.4 กิโลกรัมเมตร) ที่ 4,000 รอบต่อนาที

หมายเหตุ : ตัวเลขเป้าหมายของการพัฒนาสำหรับโมเดลที่มีจำหน่ายในญี่ปุ่นที่เป็นรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้าและเกียร์อัตโนมัติ

จะมีความนุ่มนวล เงียบ และราบลื่น สามารถตอบสนองการขับขี่ได้ในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะเมื่อใช้งานในเมือง หรือแม้แต่การขับขี่ทางไกล หากแต่ถ้านำมาเปรียบเที่ยบกับรุ่นดีเซลแล้ว สมรรถนะอาจจะเป็นรอง ในส่วนของอัตราเร่ง กับเทคโนโลยีบางส่วนเท่านั้นที่น้อยกว่า สำหรับระบบกันสะเทือน จะถูกปรับตั้งให้เหมาะสมกับความเร็วและน้ำหนักของตัวรถ จึงมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่ทั้งคู่ก็ยังคงเน้นเรื่องการยึดเกาะถนน การทรงตัวที่ดี ไว้ได้อย่างเหยียวแน่น

ชั่วระยะเวลาเพียง 3 ชม. เท่านั้น ขบวน Mazda CX-5 ก็เข้ามาถึงยังจุดหมายปลายทางที่ร้านอาหาร YAWA ย่านรามคำแหง เพื่อส่งรถและเติมพลังให้กับผู้ร่วมเดินทางก่อนจะแยกย้ายกันไปทำภาระกิจของแต่ละคนต่อไป

 

สรุปก่อนกลับ เสียงส่วนใหญ่ รวมถึงตัวผู้เขียนเอง ลงความเห็นว่า CX-5 รุ่น ดีเซลจะเหมาะที่สุดทั้งในเมืองและเดินทางไกล สำหรับผู้ที่ต้องการสมรรถนะและความสนุกเร้าใจในการขับขี่ ส่วน CX-5รุ่น เบนซิน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับสาวๆ ที่ต้องการรถขนาดครอบครัวที่สามารถไปไหนก็ได้ บรรทุกสัมภาระได้มากมาย ขับสบายปลอดภัย

สุดท้ายต้องขอขอบคุณมาสด้า ประเทศไทยและทีมประชาสัมพันธ์ที่ดูแลอย่างดีตลอดการเดินทาง

RELATED ARTICLES
- Advertisment -










- Advertisment -